แบบสอบถาม

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการค้นหาข้อมูลด้วย google

วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553




























































คนเราเลือกเกิดได้

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
คนเราเลือกเกิดได้ลูกเอ๊ยหลานเอ๋ย ฟังนะลูก เมื่อเราเกิดมาเป็นคน ธรรมชาติของคนของจิตของใจ ก็อยากจะได้แต่สิ่งที่ดี ๆ พยายามค้นหาแต่สิ่งที่ดี ๆ กันทั้งนั้น ชีวิตของคนเรานะลูก อย่างพวกเอ็งทั้งหลายนี่ไปตลาด เอ็งจะไปเลือกซื้อผักก็ดี ซื้อปลาก็ดี หรือซื้ออะไรก็ดี ตามแต่ใจมันอยากจะซื้อ พวกเอ็งทั้งหลายนี่ยังต้องเลือกของเสียไม่เอา เอาแต่ของดี เพราะว่าใจเมื่อจิตของพวกเราทั้งหลาย จะซื้อหรือว่าจะลงทุนทำอะไร ก็อยากได้ของดีกันทั้งนั้นถามว่า คนเรานั้นเมื่อเกิดมาเป็นคนอยากจะได้ของดี อย่างสมมติถ้าเรามีเงินมาก ๆ เราก็นำหรือสามารถใช้เงินทองนั้นอย่างเราพอใจจะเลือกซื้อบ้านซื้อช่อง ซื้อที่ดิน ซื้อรถซื้อรา ซื้อเรือ หรือซื้ออะไรก็แล้วแต่ เราอยากจะเลือกที่อาศัยตรงไหนก็ได้ที่เราอยากเลือก เพราะเรามีเงินพอที่เราจะซื้อได้ในทางโลกนั้นคนเราทั่วไปมักจะพูดกันว่า คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่นักปราชญ์ทั้งหลายหรือผู้รู้จริงทั้งหลาย จะพูดหรือจะบอก คนเราเลือกเกิดได้ ทำไมจึงพูดว่าคนเราเลือกเกิดได้ มันอยู่ที่ว่าเราจะสะสมบุญบารมีความดีไว้ได้มาก ไว้น้อยแค่ไหน ถ้าเราสร้างสมบุญสร้างความดีเอาไว้มาก ๆ เราก็สามารถเลือกเกิดได้ ถ้าเราพยายามสร้าง พยายามสั่งสมทำไปเรื่อย ๆ มันก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้แน่นอนว่า ความดีที่เราทำนี้จะสั่งสม คือ เป็นบุญตามหน้าที่ที่สามของจิต คือ จิตมีหน้าที่ ที่สะสมทั้งดีและทั้งไม่ดี ถ้าเราสะสมแต่สิ่งที่ดี ๆ แล้วก็สามารถทำให้เราเลือกเกิดได้ คนทั่วไปไม่รู้เรื่อง หรือไม่เข้าใจจึงทำดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เปรียบเหมือนเรา ถ้าเป็นคนไม่รู้ ไม่มีสติ เหมือนเราไปซื้อผักซื้อหญ้า สักแต่ว่าซื้อ เราไม่คัดไม่ได้หยิบ ไม่ได้เลือก เมื่อเรากลับมาถึงบ้านแล้ว มันอาจจะเจอสิ่งที่เน่ามาก็ได้สำหรับคนที่ไม่รู้จริงนั้นมักจะยึดติดโน่นติดนี่ ถ้าคนที่รู้จริงแล้ว จะไม่ยึดติดในสิ่งเหล่านั้น แต่จะมายึดติดในคุณงามความดี เพราะองค์สมเด็จพระบรมครูตรัสว่า การสะสมบุญย่อมนำสุขมาให้ บุญก็คือความดีที่หลวงปู่บอกว่าเราเลือกเกิดได้นั้นเพราะอะไร เพราะว่าเมื่อเรามั่นใจในความดีที่เราทำ เราไม่ท้อแท้แล้วเราพยายามรักษาคุณงามความดีเหล่านั้นไว้ให้ตลอด เราทำชั่วก็มีอบายภูมิเป็นที่ไป เรารักษาสิ้น ๕ ก็มีมนุษย์เป็นแดนเกิด เราระลึกถึงทานทั้งหลายก็ดี ระลึกถึงคุณงามความดีที่เราได้ทำขึ้น โดยเรามีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ก็มีสวรรค์เป็นแดนเกิดเราปฏิบัติจนจิตใจของเรามีความสุขสบาย ว่างมันก็เข้าสู่พรหมทั้งหลาย ถ้าเราวางได้หมดทุกสรรพสิ่ง เราก็เข้าสู่นิพพานแต่สมมุติถ้าเรายังเข้าสู่พระนิพพานไม่ได้ เราต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ต้องมาเกิดเป็นคนอีก ถ้าเราเคยให้ทานมาในกาลก่อน หรือเราเคยรักษาศีลไว้ในกาลก่อน หรือเราเคยเจริญภาวนาไว้ในกาลก่อนสิ่งเหล่านั้นมันเป็นสิ่งที่แน่นอนที่จะติดตามใจของเรามา ทุกภพทุกชาติ เพราะฉะนั้น ลูกเอ๊ยนักปราชญ์ทั้งหลายต้องเลือกทำดี ไม่เลือกทำชั่ว เพื่อจะเลือกไปเกิดนะลูก ไม่ใช่เลือกเกิดไม่ได้ ขอบคุณ..พลังธรรม
วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
การศึกษาทางไกล
ถ้าคุณต้องการศึกษาในสถาบันของออสเตรเลีย แต่ไม่สามารถออกจากบ้านมาเรียนได้ตลอดหลักสูตรหรือบางช่วงของหลักสูตร การศึกษาทางไกลอาจเป็นคำตอบที่เหมาะที่สุดสำหรับคุณ
หลักสูตรการศึกษาทางไกล (Distance education) จะช่วยให้คุณสามารถได้รับวุฒิการศึกษาของสถาบันออสเตรเลียโดยศึกษาในประเทศบ้านเกิดของคุณได้ หรือคุณอาจจะเลือกเรียนทั้งจากที่บ้านและที่ออสเตรเลียก็ได้
ออสเตรเลียเป็นผู้นำของโลกในด้านการสอนหลักสูตรการศึกษาทางไกล สถาบันของเราใช้เทคโนโลยีชั้นนำและนวัตกรรมการเรียนการสอนแบบใหม่ที่เราสามารถออกแบบให้เหมาะกับความต้องการของคุณได้

เกณฑ์การรับเข้าเรียน
คุณควรตรวจสอบกับสถาบันศึกษาที่คุณเลือก ว่ามีหลักสูตรใดบ้างที่เปิดให้เรียนทางไกลได้ รวมถึงเกณฑ์การรับเข้าเรียน คุณอาจต้องมีประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายของออสเตรเลีย (ชั้นปีที่ 12) (Australian Senior Secondary Certificate of Education ) หรือประกาศนียบัตรจากประเทศอื่นที่เทียบเท่า เพื่อใช้ในการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีหลักสูตรทางไกลของออสเตรเลีย ทางสถาบันอาจพิจารณาถึง วุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ แรงบันดาลใจ หรือประสบการณ์ในการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องของคุณด้วย

บุคคลสำคัญสมัยสุโขทัย







พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระราชประวัติ


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (บางกลางหาว) กับนางเสือง มีพระนามเดิมว่า พระราม เมื่อพระชนมายุ 19 พรรษา ได้ตามเสด็จพระบิดาไปในการสงครามระหว่างสุโขทัย กับเมืองฉอด ทรงช่วยพระบิดาทำยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พระบิดาจึงเฉลิมพระนามให้เป็น “ พระรามคำแหง "
ในช่วงรัชสมัยพ่อขุนบางเมือง ซึ่งเป็นพระเชษฐา พระรามคำแหงทรงเป็นกำลังสำคัญในการรบปราบปรามเมืองชายแดนหลายแห่ง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ครองราชย์ พ.ศ. ๑๘๒๒

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

- ทรงขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวางกว่ารัชสมัยใดๆ
- ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยใน พ.ศ. ๑๘๒๖
- ทรงส่งเสริมการค้า ทั้งการค้าภายในและการค้าภายนอก เช่น ให้งดเว้นการเก็บจกอบหรือภาษีผ่านด่าน
- ทรงบำรุงศาสนา เช่น ให้นิมนต์พระสงฆ์นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชมาเป็นพระสังฆราช
และริเริ่มการนิมนต์พระสงฆ์มาแสดงธรรมในวันพระ
- ทรงดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด เช่น ให้ผู้เดือดร้อนมาสั่นกระดิ่ง ถวายฎีกาได้ ให้ทายาทมีสิทธิได้รับมรดก
จากพ่อแม่ที่เสียชีวิตไป เป็นต้น
- ทรงสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัฐใกล้เคียง ได้แก่ ทรงเป็นพระสหายกับพญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา
พญางำเมือง แห่งแคว้นพะเยา ทรงมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับพระเจ้าฟ้ารั่ว แห่งอาณาจักรมอญและทรงเป็นรัฐบรรณาการกับจีน




พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท)

พระราชประวัติ

พญาลิไท หรือ พระยาลิไท หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรม-ราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชา ๑ ทรงเป็นพระราชโอรสของพระยาเลอไทและพระราชนัดดา(หลานปู่) ของพ่อขุนรามคำแหง ครองราชย์ พ.ศ. ๑๘๙๐ แต่ไม่ทราบปีสิ้นสุดรัชสมัยที่แน่นอน สันนิษฐานว่าอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๑๙๖๖ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นแบบฉบับของกษัตริย์ในคติธรรมราชา ทรงปกครองบ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองจนสุโขทัยกลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติพระองค์ชักนำชนทั้งหลายให้พ้นทุกข์ หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่าพระองค์มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี ได้แก่ วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง วรรณคดีชิ้นแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ที่ทรงนิพนธ์ขึ้นตั้งแต่ก่อนเสวยราชย์หลังจากทรงเป็นรัชทายาทครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ ๘ ปี จึงเสด็จมาครองสุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๐ โดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยหลังสิ้นรัชกาลพ่อขุนงัวนำถมแล้วเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

- การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ เพราะสุโขทัยหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยกแคว้นหลายแคว้นในราชอาณาจักรแยกตัวออกห่างไป ไม่อยู่ในบังคับบัญชาสุโขทัยต่อไป
- พญาลิไททรงคิดจะรวบรวมสุโขทัยให้กลับคืนดังเดิม แต่ก็ทรงทำไม่สำเร็จ นโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนาเป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้
- ทรงสร้างเจดีย์ที่นครชุม (เมืองกำแพงเพชร) สร้างพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก
- ทรงออกผนวช เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่างๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาไทย ได้นิมนต์พระสมณะเถระไปจากสุโขทัย เพื่อเผยแพร่ธรรมในเมืองเชียงใหม่ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท มีมเหสีชื่อพระนางศรีธรรม ทรงมีโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อมา คือ พระมหาธรรมราชาที่สอง ปีสวรรคตของกษัตริย์ พระองค์นี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คงอยู่ในระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๒๑-๑๙๒๗

การทำขนมไทย

วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553
1. ฝอยทองกรอบส่วนผสม เส้นฝอยทอง 1 ถ้วยตวง น้ำเชื่อมอย่างข้น 1 ถ้วยตวงวิธีทำ 1. ใส่น้ำเชื่อมลงในกระทะทองตั้งไฟให้เดือด 2. ยีเส้นฝอยทองให้กระจายตัวดีแล้วใส่ลงไปในน้ำเชื่อม คลุกเคล้าให้น้ำเชื่อมจับเส้นให้ทั่วจนน้ำเชื่อมแห้งยกกะทะลง 3.ใช้ช้อนตักฝอยทองให้เป็นก้อนกลมเล็ก ๆ ขนาดพอคำวางเรียงไว้บนตะแกง วางฝึ่งลมให้แห้งตามต้องการ แล้วจึงจัดใส่ภาชนะ
2. กระเช้าสีดา ส่วนผสมส่วนผสมแป้งสาลี 1 ถ้วยตวงไข่แดง 2 ฟองน้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะน้ำเปล่า 3 ช้อนโต๊ะมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 2 ถ้วยตวงน้ำดอกไม้ 1 ถ้วยตวง วิธีทำ1. นวดแป้งสาลีกับน้ำมันพืชให้เข้ากัน ใส่ไข่แดงลงนวดทีละฟองจนแห้งเนียนนิ่ม ใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำบิดหมาดๆคลุมพักไว้ประมาณ 10-15 นาที2. แบ่งแป้งทีละน้อยลงในพิมพ์กระเช้า ใส่ถาดนำเข้าอบไฟกลางจนแป้งสุกยกลงพักไว้ให้เย็น3. ผสมน้ำตาลทรายน้ำลอยดอกไม้ ตั้งไฟอ่อนๆเคี่ยวจนน้ำตาลละลายเหนียงเป็นยางมะตูมใส่มะพร้าวลงคลุกกับน้ำเชื่อมให้ทั่วกันจนน้ำเชื่อมแห้ง4. ตักมะพร้าวใส่ลงในกระเช้าจัดให้สวยงาม แล้ววางผึ่งลมให้แห้งจึงจัดใส่ภาชนะ
3. ขนมลืมกลืน ส่วนผสมแป้งถั่วเขียว 1 ถ้วยตวงน้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวงน้ำลอยดอกไม้ 5 ถ้วยตวงหัวกะทิ 1/2 ถ้วยตวงแป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะเกลือป่น 1/2 ช้อนชา วิธีทำ1. ผสมแป้งถั่วเขียวกับน้ำตาลทรายให้เข้ากัน ใส่ลงในกระทะทองคนให้เข้ากัน ใส่น้ำลอยดอกไม้ คนให้เข้ากัน ยกขึ้นตั้งไฟอ่อนๆกวนจนแป้งสุกใส2. หยอดขนมลงในพิมพ์หรือถ้วยตะไล3. ผสมหัวกะทิแป้งข้าวเจ้าใส่ลงในกระทะทอง กวนด้วยไฟอ่อนๆใส่เกลือ คนจนแป้งสุกและกะทิข้น หยอดหัวกะทิลงบนตัวขนม จัดใส่ภาชนะ
4. ขนมตาล ส่วนผสมลูกตาลสุก 1 ผลข้าวสารเก่า 2 ถ้วยตวงแป้งท้าวยายม่อม 1/4 ถ้วยตวงน้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวงหัวกะทิ 2 ถ้วยตวงมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 2 ถ้วยตวงเกลือป่น 1 ช้อนชา วิธีทำ1. ลอกเปลือกลูกตาลออกให้หมดขูดเอาเนื้อสีเหลืองออก ตัวลูกตาลแช่น้ำไว้จนเนื้อลูกตาลละลายออกหมดใช้ผ้าห่อเนื้อลูกตาลและน้ำที่ละลาย ผูกมัดปากรวมใว้ให้แน่นแขวนหรือทับไว้ให้แห้ง2. โม่ข้าวสารที่แช่น้ำไว้ให้ละเอียด แล้วทับไว้ให้แห้ง3. ผสมข้าวสารที่โม่และทับจนแห้งแล้ว รวมกับแป้งท้าวยายม่อม และลูกตาลที่ทับจนแห้งแล้วนวดส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกันจนแป้งที่ผสมเนียนและนุ่มมือ(ประมาฌ 30-60 นาที)ใส่น้ำตาลสลับกับหัวกระทิ นวดจนหัวกระทิและน้ำตาลละลายหมด พักไว้ประมาณ 5-10 ชั่วโมง4. ตักแป้งที่ผสมแล้วใส่กระทงหรือถ้วยตะไลโรยมะพร้าว แล้วนึ่งให้สุกยกลงถ้าใส่ถ้วยตะไล รอให้เย็นก่อนแล้วจึงนำออกจากถ้วย จัดใส่ภาชนะ